..." ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กลุ่ม ๙ ครับ "...

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

กลุ่ม ๙ หน่วยการเรียนที่ ๙



ลุ่ที่ 
หน่วยการเรียนที่ ๙ แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาววราพร    ภิรมย์สุข    544144051
2.นางสาวชนาภา   เผ่ากัณหา    544144055
3.นายวุฒิพงษ์        พรนิคม       544144060
4.นายถามพนต์      กันกลับ        544144070
 5.นายปริญญา         นามหอม     544144074

***************************************************************************

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย  

แนวโน้มใน ด้านบวก 
การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ 
การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ 
การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 

แนวโน้มใน ด้านลบ 
ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ 


ระบบปัญญาประดิษฐ์ 
          ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของ มนุษย์ได้ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ มีความเข้าใจภาษามนุษย์ รับรู้ได้และตอบสนองด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรมและภาษามนุษย์ 
ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่
ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
โครงข่าย ประสาทเทียม (Artificial Neural Network)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 
ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics) 
ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
          ภาษาธรรมชาติกับการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบน คอมพิวเตอร์ เป็นนำวิทยาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา ธรรมชาติมาพัฒนาโปรแกรมประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้งานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การประมวลผลตัวอักษร (Character) คำ (Word) ข้อความ (Text) ภาพ (Image) และความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics) 
           โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) การสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์ได้เข้าใจ อ่านออก และรู้จำได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น สมองกล 

เทคโนโลยีการสื่อสาร ทุกที่ ทุกเวลา
          ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous technology) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด
จุดเด่นของยูบิควิตัส ได้แก่
การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งาน จะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ
การ สร้างสภาพการใช้งานโดยผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่ 
การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้ง สถานที่ อุปกรณ์ ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ  

เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการศึกษา 
          เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือ WBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning) 
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ
ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ 
          Virtual Library Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือน ได้ ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง 
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ 

นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต 
          นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า 1 ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9 หรือ 0.000000001วินาที 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร 
          นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ 1 ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้ 
ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยี
วัสดุ ฉลาด (Smart materials)
ตัวรับรู้ หรือเซ็นเซอร์ (Sensors)
โครงสร้างชีวภาพขนาดนาโน (Nanoscale Biostructures)
คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม 
คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ
รัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ 

          รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่อข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐ ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น มีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ดีขึ้นด้วย 
          ที่มารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของไทย โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการโดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ 2 ปี ดังนี้ 
1.การให้บริการต่อสาธารณะ โดยจะผลักดันเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ 
การ ให้บริการข้อมูลที่ดี มีมาตรฐาน และคุณภาพแก่สาธารณะ อันได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจ และ ภาครัฐ
การให้ บริการที่ดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น 4 ท. คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา 
2.การบริหารจัดการของรัฐ
การ บริหารจัดการด้านการเงินระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ
การจัดซื้อจัดจ้างผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวด เร็ว โปร่งใส ยุติธรรม 
การ บริหารข้อมูลและทรัพยากรภาครัฐ 
3.การติดต่อสื่อสาร และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ภายในและระหว่าง กระทรวง
ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรส่วนท้องถิ่น 
ตัวอย่างของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
การติดตามแกะรอยคนร้าย ปัจจุบันมี 3 ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ (1) ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากร หรือ CDOS (Criminals Database Operating System) (2) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ หรือ AFIS (Automated Fingerprint Identification System) และ (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย หรือ PICASSO (police Identikit: Computer Assisted Suspect Sketching Outfit)
ระบบสารสนเทศสำหรับงานประปา บริการเบ็ดเสร็จภายในคราวเดียว คือ จดมาตรจำนวนการใช้น้ำ พิมพ์ใบแจ้งหนี้ และส่งให้ลูกค้าได้ทันที โดยใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกิน 10 นาที ผู้ใช้บริการสามารถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระเงินที่สาขาของการประปานครหลวง หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือที่ Counter Service หรือชำระผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต 
การยื่นแบบแสดงและชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต เข้าสู่ระบบได้ที่ www.rd.go.th มีบริการ 2 แบบ คือ 1. การบริการแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้ และ 2. การยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต 
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การประมูลแบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไวต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ คือ www.gprocurement.go.th หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดประมูล 
ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะผ่านอิน เทอร์เน็ต บริการด้านงานทะเบียนราษฎรผ่านทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.dopa.go.th  และ www.khonthai.com ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง 
บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ต กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เริ่มเปิดให้บริการค้นหาข้อมูลธุรกิจ และการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์  www.thairegistration.com
การบริการต่อทะเบียนรถ และชำระภาษีรถผ่านอินเทอร์เน็ต กรมการขนส่งทางบก มุ่งเน้นที่จะให้บริการประชาชนในรูปแบบออนไลน์ บริการได้ทันทีทันใด ทั่วไทย แบบ One-Stop-Service โดยสามารถเข้าไปใช้บริการผ่านเว็บไซต์ www.dlt.moct.go.th  
การ จัดทำหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทาง กรมการกงศุล กระทรวงต่างประเทศ ได้เชื่อมโยงข้อมูลบุคคลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง เพื่อใช้ในการตรวจสอบหลักฐานการขอทำและขอต่ออายุหนังสือเดินทาง โดยประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเป็นหลักฐานประกอบการขอทำ หนังสือเดินทางได้โดยไม่ต้องนำเอกสารมามากมายเหมือนที่ผ่านมา 
e-Citizen 
e-Citizen ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ 
Citizen e-DB ฐานข้อมูลประชาชน
Citizen e-ID การพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล
Citizen e-Service การบริการประชาชน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
เพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานรัฐ
เพิ่มคุณภาพในการบริการประชาชนให้สะดวกรวดเร็ว
สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานและให้บริการ
ลดต้นทุนการดำเนินงานและการให้บริการของหน่วยงาน ภาครัฐ
. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

แนวโน้มระบบสารสนเทศสำนักงานในอนาคต
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
1. คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
4. การจดจำเสียง (voice recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchange) หรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
7. อินเทอร์เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น

แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
เทคโนโลยีในปัจจุบันมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้มีวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่มีขีดจำกัดในทุกวงการ  เช่นเดียวกับวงการศึกษาที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ รวมถึงใช้ในการกำหนดแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีเพื่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตว่า ควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างเพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างได้ผล  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงควรทราบถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีและแนวโน้มในอนาคตในการเรียนการสอน   ดังนี้
-                   พัฒนาการของเทคโนโลยีและการเรียนการสอน
-                   การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน
-                   ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา
-                   พัฒนาการของอีเลิร์นนิ่ง :  Learning Object
-                   Grid Computing
-                   ความเป็นจริงเสมือนและสภาพแวดล้อมเชิงเสมือน
-                   การรู้จำคำพูดและการสื่อสาร
-                   บทสรุป : วงการศึกษาและความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
-                   คอมพิวเตอร์ : อุปกรณ์หลักในการเรียนการสอน
-                   ไอซีทีและการบูรณาการการเรียนการสอน
-                   การเรียนในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงเสมือน
-                   การเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
-                   สถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์

พัฒนาการของเทคโนโลยีและการเรียนการสอน
                    วงการต่างๆรวมถึงวงการศึกษาล้วนได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในการปรับการดำเนินงานให้ทันสมัยสมกับยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนปัจจุบันจึงเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบและเทคนิคระดับสูงในการผลิตและใช้งาน
                     เทคโนโลยีที่พัฒนาและเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานทั้งในปัจจุบันและนับเนื่องถึงอนาคตอันใกล้จะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อใช้ในวงการต่างๆ  สำหรับพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้ในวงการศึกษาและการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึง  ได้แก่
  - การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน
  - ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา
  - พัฒนาการของอีเลิร์นนิ่ง : Learning Object
  - Grid Computing
  - ความเป็นจริงเสมือน
  - การรู้จำคำพูดและการสื่อสาร
การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน
           การบรรจบกันของเทคโนโลยี (technological convergence) เป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีให้เป็นเทคโนโลยีรูปแบบเดียวที่สามารถใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ในหนึ่งเดียว  ตัวอย่างเช่น
-โทรศัพท์เซลลูลาร์เพียงเครื่องเดียว สามารถใช้ทั้งการติดต่อสื่อสารทั้งเสียง ข้อความ และภาพ มีนาฬิกาบอกเวลา จับเวลา ตั้งปลุก มีสมุดนัดหมาย
- คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือที่นอกจากใช้ในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแล้ว ยังใช้ในการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ค้นคว้าหาข้อมูล
- อุปกรณ์สื่อสารไร้สายขนาดเล็กที่เป็นทั้งโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ขนาดเล็กลักษณะPDA
- ปากกาที่นอกจากใช้เขียนแล้วยังสามารถบันทึกเสียง เล่นMP3 และเก็บบันทึกข้อมูลได้ในด้ามเดียว
             การบรรจบกันของเทคโนโลยีในเรื่องของสื่อการสอนจะช่วยเอื้อประโยชน์ในสถาบันการศึกษาและการเรียนการสอนได้อย่างมากในเรื่องของการจัดหาทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดหางบประมาณเพื่อซื้อวัสดุอุปกรณ์มากมายหลายอย่างเพื่อใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้

แนวโน้มและการบริหารในอนาคต
แนวโน้มและทิศทางการบริหารสำนักงานในอนาคต
การเปลี่ยนแปรงมากมายในโลกยุคไร้พรมแดน เกิดเหตุการณ์สำคัญดังนี้
1. การบริการที่มีพื้นฐานจากภูมิปัญญา การจัดการอย่างเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาดีเลิศ และบริการที่มีประสิทธิภาพในโลกของการแข่งขัน ถือเป็นการท้าทางการบริหารสูงที่สุด มักพบนวัตกรรมสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ โดยมีเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร(lnformation Technology หรือ IT)
เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ ผ่านคอมพิวเตอร์และการติดต่อสื่อสารที่สำคัญ
2. การผลิตมากเกินไป (Overcapacity) ในบางประเทศมีการผลิตวัตถุดิบ สินค้า หรือ อาหารจำนวน
มากขึ้น มีผลให้ดัชนีราคาต่อค่าจ้างลดน้อยลง ในขณะที่บางประเทศอาจไม่มีอาหารเพียงพอ
ในระยะเวลายาว การปรับปรุงการศึกษาและการบริการที่เพิ่มขึ้น ช่วยให้เกิดความมั่นคงได้ทั่วโลก และช่วยลดอัตราการเติบโตของประชากร
3. Software เป็นศูนย์รวมของนวัตกรรมทันสมัยและกิจกรรมทางบริหาร ช่วยอำนวยความสะดวกทุกขั้นตอนการสร้างคุณค่า และกระบวนการเชิงนวัตกรรม องค์ประกอบที่มีค่าสูงที่สุดในสินค้าคือ Software การปรับปรุงการบริหาร Software และการใช้ให้เกิดปรโยชน์สูงสุด จะช่วยสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ สร้างความสามารถการแข็งขันให้แก่ธุรกิจในอนาคต
4. โลกาภิวัตน์ การจัดหาจากแห่ลงภายนอกและกระจายความรู้ โลกไร้พรมแดนทำให้เกิดการค้าเสรีทั่วโลก ขณะเดียวกันจะเกิดการความรู้ไปทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพราะการกระจายความรู้ด้านเทคโนโลยี มีแนวโน้มก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจมากกว่านวัตกรรมพื้นฐาน
5. อำนาจใหม่และสภาวะการแข่งขันรุนแรง ทุกองค์ประกอบในองค์การสามารถสร้างคุณค่า และผลิตภาพของงานอิสระเพื่อการแข่งขันได้ทุกกิจกรรม แต่เป็นการแข่งขันไร้รูปแบบ ระบบวัตกรรมที่ยืดหยุ่น อาจเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยได้ในโลกการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นและรุนแรงเพิ่มขึ้น
วัตกรรมประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น
1. การสร้างความคิด เป็นขั้นตอนเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์คล้องจองกัน
ความเฉลียวฉลาดช่างประดิษฐ์คิดค้น
2. การทดลองเบื้องต้น ความคิดใหม่ต้องถูกตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวคิด เพื่อสร้างคุณค่าการปฏิบัติให้มีศักยภาพ มีการแบ่งปันความคิดร่วมกับผู้อื่น
3. ศึกษาความเหมาะสม ระบุความเหมาะสมความเป็นไปได้ที่จะนำนวัตกรรมนั้นไปใช้จริง โดยพิจารณารวมถึงเรื่องของต้นทุนและผลประโยชน์
ลักษณะของสำนักงานที่มีนวัตกรรม
สำนักงานแบบใหม่ในอนาคต ให้ความสำคัญจากการสร้างนวัตกรรมและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สำนักงานที่มีนวัตกรรม จะมีลักษณะดังนี้
1. มีกลยุทธ์และนวัตกรรมในสำนักงานที่สนับสนุนกระบวนการนวัตกรรม
2. มีโครงสร้างสำนักงานที่สนับสนุนกระบวนการนวัตกรรม
3. เป็นสำนักงานที่มีส่วนในการสนับสนุนกระบวนการนวัตกรรม
4. ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานให้การสนับสนุน



สำนักงานต้องสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับการเกิดนวัตกรรม โดยมีบทบาทนวัตกรรม(lnnovation Roles) ประกอบด้วยบทบาทดังต่อไปนี้
1. ldea Generators บทบาทการเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
2. lnformation Gatekeepers บทบาทในฐานะผู้สร้างบรรยากาศสำหรับผู้รู้ใหม่
3. Produt Champions บทบาทในฐานะรับความคิดใหม่และนำไปปฏิบัติ
4. Project Manager บทบาทในการจัดการและบริหารนวัตกรรม
5. Leaders บทบาทในฐานะผู้กระตุ้นและสนับสนุนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ สำนักงานมีนวัตกรรม ควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง หมายความว่า ต้องมีการกระจายอำนาจและให้อำนาจที่แท้จริง ต้องออกแบบงานใหม่เพื่อสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของ มีความพยายามสร้างประชาธิปไตยในสำนักงานภายใต้ไว้วางใจ ทำงานโดยยอมรับการเสี่ยว หาทางกำจัดความกลัวจากการล้มเหลว สุดท้ายต้องเต็มใจให้รางวัลกับนวัตกรรมที่มีความเสี่ยงสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

นวัตกรรมในอนาคต
5 นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงชีวิตในช่วง 5 ปีข้างหน้า
จากการที่ได้เข้าศึกษาและอ่านบทความที่ ไอบีเอ็มเปิดเผยรายงานประจำปี "IBM Next Five in Five" ฉบับที่สาม ซึ่งแสดงรายการนวัตกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตคนเราในช่วง 5 ปีข้างหน้า รายการดังกล่าวอ้างอิงแนวโน้มตลาดและแนวโน้มทางสังคมที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรารวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ จากห้องปฏิบัติการทั่วโลกของไอบีเอ็ม ซึ่งจะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเหล่านี้ให้กลายเป็นจริง ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ซึ่งสามารถทำให้ชีวิตของเราจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและให้ความสนใจนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น มีดังต่อไปนี้:
1. เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่จะถูกติดตั้งไว้ตามพื้นถนน ผนังอาคาร และหน้าต่าง ท่านเคยสงสัยไหมว่าเราจะสามารถผลิตพลังงานได้มากเท่าไร หากมีการติดตั้งเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ตามทางเดิน ถนนหนทาง รางรถไฟ กำแพง หลังคา และหน้าต่าง ในอีก 5 ปีข้างหน้า พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นพลังงานทางเลือกที่มีราคาไม่แพง ปัจจุบันวัสดุและกระบวนการผลิตเซลล์สุริยะหรือโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ามีราคาแพงเกินกว่าที่จะสามารถนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ในอนาคต ปัญหาดังกล่าวจะไม่เป็นประเด็นสำคัญอีกต่อไป เนื่องจากการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะทำผ่านเซลล์สุริยะแบบ ฟิล์มบาง” (thin-film) ซึ่งเป็นชุดเซลล์สุริยะราคาประหยัดที่มีความบางกว่าเซลล์สุริยะแบบแผ่นซิลิคอนถึง 100 เท่า และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เซลล์สุริยะแบบฟิล์มบางนี้ถูก พิมพ์และจัดเรียงไว้บนแผงรองรับที่ยืดหยุ่น โดยนอกจากจะติดตั้งบนหลังคาได้แล้ว ยังสามารถติดตั้งไว้ที่ผนังด้านข้างของอาคาร หน้าต่าง โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก รถยนต์ และแม้กระทั่งเสื้อผ้าได้อีกด้วย
2. แพทย์จะสามารถพยากรณ์อนาคของสุขภาพท่านได้ ภายใน 5 ปีข้างหน้า แพทย์จะสามารถนำเสนอแผนที่พันธุกรรมที่บอกท่านได้ว่าสุขภาพของท่านมีแนวโน้มจะเผชิญกับความเสี่ยงอะไรบ้าง พร้อมทั้งวิธีการที่แน่ชัดในการป้องกันสิ่งเหล่านั้น โดยอ้างอิงจากดีเอ็นเอของท่านเอง ซึ่งทั้งหมดนี้อาจมีค่าใช้จ่ายไม่ถึง 7,000 บาท (200 เหรียญสหรัฐฯ) เพราะการที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีจัดทำแผนที่จีโนมทั้งหมดของมนุษย์ เท่ากับเป็นการเผยความลับของพันธุกรรม และใช้ข้อมูลนี้ในการแนะนำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตและการรักษา นอกจากนั้น บริษัทยายังสามารถพัฒนายาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ การจัดทำแผนที่พันธุกรรมจะเปลี่ยนรูปแบบการดูแลสุขภาพของคนเราในอีก 5 ปีข้างหน้าอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้เราสามารถดูแลตัวเองได้ดีมากยิ่งขึ้น
3. ท่านจะสามารถพูดคุยโต้ตอบกับเว็บได้ การเข้าชมเว็บกำลังจะเปลี่ยนไปในช่วง 5 ปีข้างหน้า ในอนาคต ท่านจะสามารถท่องอินเทอร์เน็ตแบบแฮนด์ฟรีโดยใช้เสียงแทนข้อความโดยไม่ต้องใช้หน้าจอหรือคีย์บอร์ด ทั้งนี้ ในบางประเทศ เช่น อินเดีย ถ้อยคำที่พูดมีความสำคัญมากกว่าภาษาเขียนในระบบการศึกษา การบริหารราชการ และวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ การพูดคุยกับเว็บกำลังพัฒนาแซงหน้าอินเทอร์เฟซอื่นๆ ทั้งหมด และโทรศัพท์มือถือก็กำลังเข้ามาแทนที่พีซีด้วยการใช้งาน เว็บไซต์เสียง” (VoiceSite) ซึ่งสะดวกและเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และผู้ไม่รู้หนังสือได้ และเมื่อเว็บสามารถเข้าใช้งานได้โดยใช้เสียง ทุกๆ คนจะสามารถใช้งานเว็บได้ง่ายขึ้น
4. ท่านจะมีผู้ช่วยช๊อปปิ้งดิจิตอลส่วนตัวของท่านเอง ท่านเคยติดอยู่ในห้องลองเสื้อพร้อมด้วยเสื้อผ้าผิดขนาดโดยที่ไม่มีพนักงานขายอยู่แถวนั้นเลยหรือไม่? ภายใน 5 ปีข้างหน้า ท่านจะสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น และตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น แทนที่จะต้องรอความช่วยเหลือจากพนักงานขายในห้าง การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคใหม่จะทำให้การช้อปปิ้งเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น เพราะอีกไม่นานเราจะมีผู้ช่วยช้อปปิ้งดิจิตอล (Digital Shopping Assistant)ในห้องลองเสื้อ ซึ่งประกอบด้วยจอแบบทัชสกรีน และตู้บริการ (Kiosk) ที่สั่งงานด้วยเสียง ซึ่งจะทำให้ท่านเลือกหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าได้แบบครบชุด เมื่อท่านเลือกสินค้าผ่านผู้ช่วยช้อปปิ้งดิจิตอล พนักงานขายจะได้รับแจ้งและรวบรวมสินค้าเพื่อส่งให้ท่านโดยตรง นอกจากนี้ ท่านยังสามารถถ่ายภาพตัวเองในชุดต่างๆ และอีเมลหรือส่ง SMS ภาพเหล่านั้นไปให้เพื่อนๆ เพื่อพิจารณาว่าจะซื้อ..หรือไม่ซื้อ นอกจากนี้ ท่านยังจะสามารถเรียกดูความคิดเห็นและเรตติ้งที่ลูกค้าท่านอื่นได้ให้ความเห็นไว้ได้ รวมทั้งสามารถดาวน์โหลดคูปองส่วนลดสำหรับสินค้าที่ต้องการซื้อได้อีกด้วย
5. ความหลงลืมจะกลายเป็นเรื่องราวในอดีต  ท่านคงเคยมีปัญหาหรือกังวลกับความพยายามจดจำข้อมูลมากมายมหาศาลต่าง ๆ รอบตัวหรือไม่ ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัญหาดังกล่าวอาจหมดไป เนื่องจากท่านจะจำได้ง่ายขึ้น ว่าต้องซื้ออะไร ที่ไหน ท่านมีนัดพบปะกับใครและเมื่อใด รายละเอียดต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จะถูกบันทึก จัดเก็บ วิเคราะห์ และจัดเตรียมให้เมื่อถึงเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยไมโครโฟน และกล้องวิดีโอ ซึ่งจะบันทึกบทสนทนาและกิจกรรมต่างๆเอาไว้ จากนั้นจะจัดเก็บและวิเคราะห์โดยอัตโนมัติบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้เราสามารถจดจำได้ทันทีถึงการพูดคุยสนทนาทางโทรศัพท์กับบุคคลในครอบครัวหรือแม้แต่กับแพทย์ประจำตัว นอกจากนี้ เทคโนโลยียังช่วยเตือนความจำให้ท่านเวลาแวะซื้อของใช้หรือแวะซื้อยาตามใบสั่งเมื่อเดินทางผ่าน

แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ   สังคม และการเมือง  มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ  ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
            1.  การรวมตัวของสื่อ  เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น  การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ   การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล  เป็นต้น
1.      สื่อขนาดเล็ก  สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น  กล้องถ่ายวีดิทัศน์  การผลิตแผ่นซีดี   ฯลฯ
            3.  ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
2.      ระบบสื่อสารโทรคมนาคม    ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ (Video Teleconference)
3.      อินเทอร์เน็ต  และเวิร์ล ไวด์ เว็บ  อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง ๆ กัน
            6.  ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)  เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง



นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต                    
ความหมายของนวัตกรรม บางครั้งอาจจะมีความสับสนในการใช้ความหมายระหว่างคำว่า นวัตกรรม และ ประดิษฐกรรม ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นนักวิจัยและพัฒนาที่ทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถนำความคิดเหล่านั้นไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในโลกของความเป็นจริงได้ นวัตกรรมสมัยใหม่ ในโลกแห่งอนาคตนั้นมีแนวโน้มในการพัฒนาและใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราอย่างมาก ได้มุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับหุ่นยนต์ สัตว์เลี้ยงดิจิทอล เทคโนโลยีไร้สายแบบ 4 G และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันที่เรียกว่า Grid Computer นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาในอนาคต นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษในโลกของอนาคตนั้นจะมีรูปแบบห้องเรียนเสมียน คือ ห้องเรียนไร้กำแพง อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำเป็นจะต้องใช้วัตนกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศหลายอย่างบูรณา อนาคตกับการทำงานและการใช้ข้อมูลข่าวสาร รูปแบบของการทำงานในอนาคตนั้นจะเน้นการทำงานบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตในโลกของการทำงานบนพื้นฐานของความเป็นจริง หากเรามองภาพในอนาคตจะพบว่า โลกของอนาคตนั้นจะเป็นการรวมตัวของการสื่อสารทุกชนิดไว้เป็นหนึ่งเดียว เช่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรวมกับเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สำหรับการติดต่อสือสารด้วย Internet Broadband ไว้เกือบทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานที่ทำงาน รถไฟฟ้าใต้ดิน ห้างสรรพสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลขององค์กรได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้วัฒนธรรมในการทำงานของคนเปลี่ยนไป

ข้อจำกัดของเทคโนโลยี
แม้จะมีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็อาจพบเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดข้อขำกัดของเทคโนโลยีได้ ดังนี้
ขาดความอิสระเพราะการพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ข้อมูลที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์อาจถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากระบบไฟฟ้า หรือภัยธรรมชาติ
ขาดมนุษย์สัมพันธ์ในสำนักงาน รวมทั้งลูกค้าและแขกผู้มาเยือน เพราะ IT ทำให้ขาดการติดต่อสื่อสาร แบบพบหน้าหรือเผชิญหน้า
ผลกระทบของเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นที่รู้จักและ ธุรกิจหลานชนิดพัฒนาละนำเสนอเทคโนโลยีใหม่เชิงนวัตกรรม ประสพความสำเร็จ ขณะที่ธุรกิจบางแห่งได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง จึงเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เป็นโอกาสและอุปสรรค เปรียบเสมือนเหรียญ 2ด้าน ด้านหนึ่งช่วยสร้างโอกาส อีกด้านหนึ่งทำร้ายหรือทำลาย นอกจากนี้เทคโนโลยีมีผลกระทบต่อพฤติกรรมในองค์การหรือสำนักงานในเชิงลบโดยเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยียังมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในสำนักงาน เช่น โครงสร้าง ซึ่งต้องเปลี่ยนเป็นแนวราบเพื่อให้พนักงานใช้ข้อมูลและมีอำนาจแก้ไขปัญหาได้สะดวกยิ่งขึ้น
การจัดการกับเทคโนโลยี
คำนึงถึงเป้าหมายหลักขององค์การและวิเคราะห์ผลในการนำเทคโนโลยีมาใช้
ตรวจสอบเทคโนโลยีที่ใช้อยู่
สร้างระบบสนับสนุนในการปฏิบัติงานกับเทคโนโลยี
เน้นความเข้าใจที่ถูกต้องกับเทคโนโลยีให้พนังงานได้ทราบ
ระบบข้อมูลหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นเครื่องมือที่สร้างพลังอำนาจสำหรับการเปลี่ยนแปลงสำนักงานในอนาคตในการออกแบบโครงสร้าง ขอบเขต ความสัมพันธ์อำนาจสายทางเดินของงาน สินค้าและบริการใหม่ๆและที่สำคัญนำมาสนับสนุนระดับของการเปลี่ยนแปลงในสำนักงานจากขอบเขตที่ละเล็กที่ละน้อยไปถึงระดับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้บรรลุผลอย่างรวดเร็ว
นอกจากเทคโนโลยี ไอที ที่ใช้ในการทำงานแล้วยังมีเพื่อความบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ เผื่อการผ่อนคลายอีกด้วย
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การดำเนินชีวิตในสังคมสารสนเทศจะมีการพัฒนาและนำเทคโนโลยีระดับสูงมาสนับสนุนการทำงานและการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้จะพัฒนารวดเร็วกว่าสมัยอุตสาหกรรมมาก ข้อมูลและข่าวสารจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วและอิสระ พรมแดนทางการเมืองจะลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจการค้าที่ขยายตัวสู่ระดับโลกในที่สุด ประชาชนจะมีความเป็นอิสระในการรับรู้ข่าวสารและขั้นตอนการทำงาน โดยที่หลายหน่วยงานมีการลดขนาดลง บางหน่วยงานศึกษาถึงการปรับตัวให้มีขนาดที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการรื้อปรับระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินงานแข่งขันธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว
 ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถมองข้ามหรือปล่อยให้หัวหน้างานหรือหน่วยงานสารสนเทศดูแลรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายและการใช้งานเทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวประกอบกับการกระจายตัวของการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในหน่วยงานต่างๆทำให้สมาชิกในองค์การมีความคุ้นเคยและเข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น จึงต้องมีการกำหนดทิศทางการจัดการเทคโนโลยีร่วมกัน ซึ่งต้องได้รับการเริ่มต้นและส่งเสริมจากผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่มีต่ออนาคตขององค์การ โดยติดตามข่าวสารข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี นอกจากนี้การจัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศขององค์การจากบุคคลหลายกลุ่ม จะช่วยให้การกำหนดนโยบายด้นสารสนเทศขององค์การมีความชัดเจน แน่นอน และถูกต้องขึ้น
การศึกษาในอนาคต
> กับ นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
ท่ามกลางพลวัตรของสังคมในปัจจุบันบวกกับกระแสแนวโน้มที่จะมาถึงนี้ การศึกษาไทยจะดำเนินยุทธศาสตร์เดิมๆ อีกไม่ได้ นั่นหมายความว่า สังคมไทยกำลังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต แนวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคตที่หลายประเทศให้ความสำคัญ มักจะเน้นไปที่รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ และเศรษฐกิจการแข่ง ขัน รวมไปถึงแนวโน้มการเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) แต่สำหรับประเทศไทยยัง คลุมเครือเพราะอยู่ระหว่างเลือกว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง!!
เริ่มจากปัญหาการสอนที่มีช่องว่างระหว่างทักษะกระบวนการคิด และทักษะวุฒิทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่มุ่งแข่งขันทำให้การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาทางวิชาการเป็นสำคัญ ในขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน
รวมไปถึง การใช้เทคโนโลยีในกิจวัตรประจำวันหรือใช้ในการเรียนการสอนทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ลดลง ส่งผลให้ช่องว่างทางอารมณ์ จึงก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวที่นับวันจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้การพัฒนาเชิงสังคมของเด็กไทยดิ่งลงเหว
การสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งแข่งขันได้แพร่ กระจายไปทั่วโลก ส่งผลผู้ประกอบกับสถาบันการศึกษาจำนวนมากมุ่งพัฒนาความรู้ทางวิชาการ และประเมินผลการเรียนที่ความสามารถทางวิชาการจนอาจละเลยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลต่อคุณภาพ นักศึกษาจำนวนมากที่ใช้ชีวิตฉันท์สามีภรรยาในสถาบันการศึกษา มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน สู้รบฆ่าฟันต่างสถาบัน เป็นต้น
แนวโน้มเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมของประเทศไทยยังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต ที่จะเท่าทันต่อแนวโน้มต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่แนวโน้มวิกฤตการณ์ด้านเด็กและเยาวชนที่นับวันดูจะรุนแรงมากขึ้นๆ จนกลายเป็นกระแสเรียกร้องนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่จะไล่ทันต่อแนวโน้มที่ว่า นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตที่ว่านี้ ควรมีการ รวมพลังมีการออกแบบร่วมกันและจัดการร่วมกันที่ดี มิใช่เพียงมุ่งเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและพลเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมุ่งสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นคน อุดมความรู้ คู่ความดีงามและมีทักษะที่หลาก หลายมีความสามารถในการจัดการที่ดี เพื่อเป็นเงื่อนไข สำคัญของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในอนาคตข้างหน้า
เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบ ครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา ตลอดจนเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความ รู้สร้างความตระหนัก สำนึกในคุณค่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความสมาน ฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย
พัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข กลุ่มเป้าหมายแรก ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสถาน ศึกษา 15 ล้านคน เพื่อขยายผลสู่สังคม วงกว้าง โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางการศาสนา และสถาบันการศึกษา ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจเป็นการ แก้ปัญหาการศึกษาและสังคมในระยะยาวและยั่งยืน

การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาท ที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ เช่น เปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ใน การติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันองค์การในประเทศไทยได้มีการตื่นตัวที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มา ใช้งานมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เราติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีได้ทัน และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม
การพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารเป็นสำคัญ โดยที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับองค์การดังต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันขององค์การ เช่น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในระบบคลังสินค้าของบริษัท การใช้ความก้าวหน้าด้านการสื่อสารมาช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลของแผนกต่าง ๆ หรือการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในการเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้า เป็นต้น
2. ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่องค์การต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะทำการรวบรวม และจัดระเบียบเก็บไว้ในระบบสารสนเทศ และเมื่อมีความต้องการข้อมูล ก็สามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที โดยการพัฒนาระบบต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมและความสอดคล้อง ในการใช้งานสารสนเทศขององค์การเป็นสำคัญ
3. วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ
เพื่อให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไป ตามวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้ การวางแผนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยระบบย่อยอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กันและใช้เวลาในการพัฒนาให้สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานนำเสนอ